ไมโครซอฟท์เร่งสืบเรื่องจอฟ้ามหาภัยหลังอัปเดตวิน 11 ล่าสุด

หลังออกตัวอัปเดต KB5029351 เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ ไมโครซอฟท์ได้ออกมากล่าวว่า กำลังสืบสวนรายงานของปรากฏการณ์ Blue Screen Of Dead (BSOD) ที่ขึ้นว่า “UNSUPPORTED_PROCESSOR” บนพีซีวินโดวส์ 11 บางเครื่องหลังติดตั้งตัวอัปเดต แม้ดูเหมือนการอัปเดตตามปกติทุกเดือน แต่ตัวล่าสุดนี้กลับสร้างปัญหากับเครื่องที่ใช้เมนบอร์ด MSI บางรุ่น จนไมโครซอฟท์ต้องออกแจ้งเตือนทาง Windows Health […]

พบช่องโหว่ WinRAR ให้แฮ็กเกอร์รันโปรแกรมเปิดไฟล์ RAR ได้

WinRAR ยูทิลิตี้บีบอัดไฟล์ยอดนิยมบนวินโดวส์ ที่มีคนใช้งานหลายล้าน ได้ออกเวอร์ชั่นใหม่ที่อุดช่องโหว่ร้ายแรงที่เปิดให้ผู้ไม่หวังดีรันคำสั่งบนคอมพิวเตอร์เป้าหมายได้ เพียงแค่ให้เหยื่อเปิดไฟล์ RAR เท่านั้น เป็นช่องโหว่ภายใต้รหัส CVE-2023-40477 ช่องโหว่นี้เป็นแบบ Remote Control Execution (RCE) โจมตีผ่านไฟล์ RAR ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ ผู้ค้นพบช่องโหว่นี้คือนักวิจัยที่ใช้ชื่อเรียกว่า  “goodbyeselene” จากทาง Zero Day

พบช่องโหว่ WinRAR ให้แฮ็กเกอร์รันโปรแกรมเปิดไฟล์ RAR ได้Read More »

Hotmail ส่งไม่ไป เพราะไมโครซอฟท์กำหนดค่า DNS พลาด

เมื่อศุกร์ที่แล้ว ผู้ใช้ฮอตเมล์ทั่วโลกพบกับปัญหาเวลาส่งเมล เมื่อข้อความเมลตัวเองโดนแฟลกเป็นสแปม หรือแม้แต่ส่งไม่ออกตั้งแต่แรก โดนปลายทางเด้งกลับเป็นแถว หลังทางไมโครซอฟท์ตั้งค่าเรคคอร์ด SPF ของ DNS โดเมนตัวเองไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เกิดขึ้นตั้งแต่คืนวันพฤหัส ที่มียูสเซอร์และแอดมินจำนวนมากโพสปัญหาบนทั้ง Reddit, X (Twitter), และเว็บบอร์ดของไมโครซอฟท์ว่าอีเมลของ Hotmail ตัวเองไม่สามารถส่งออกได้ ฟ้องว่าตรวจสอบความถูกต้องของ SPF ผิดพลาด Sender

Hotmail ส่งไม่ไป เพราะไมโครซอฟท์กำหนดค่า DNS พลาดRead More »

Patch Tuesday ประจำเดือนสิงหานี้ มี 87 ช่องโหว่ เป็น Zero-day สองรายการ

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เป็นวันออกแพ็ตช์ประจำเดือนของไมโครซอฟท์ที่เรียกว่า Patch Tuesday ซึ่งครั้งนี้มีตัวอัพเดทด้านความปลอดภัยรวม 87 รายการ ในนี้มีสองรายการที่พบการโจมตีในวงกว้างก่อนแล้ว และมีช่องโหว่แบบ RCE มากถึง 23 รายการ สำหรับรายการทั้งหมดได้แก่ ช่องโหว่ที่เปิดให้ยกระดับสิทธิ์ 18 รายการ, ช่องโหว่ที่ข้ามฟีเจอร์ความปลอดภัย 3 รายการ, ช่องโหว่ RCE

Patch Tuesday ประจำเดือนสิงหานี้ มี 87 ช่องโหว่ เป็น Zero-day สองรายการRead More »

AI สามารถขโมยรหัสด้วยการวิเคราะห์จากเสียงกดแป้นคีย์บอร์ด แม่นยำเกือบ 100%

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Cornell พบวิธีใหม่ในการใช้เครื่องมือ AI จารกรรมข้อมูล “เสียง” การกดคีย์บอร์ดของคุณ โดยออกรายงานที่ระบุรายละเอียดการโจมตีที่นำ AI เข้ามาช่วยดูดรหัสด้วยความแม่นยำสูงกว่า 95% เพียงแค่ฟังการกดคีย์บอร์ด ด้วยการเทรนโมเดลกับเสียงการกดแป้นพิมพ์ แล้วเอาโมเดลมาติดตั้งบนโทรศัพท์ที่วางไว้ใกล้ๆ เมื่อทดสอบกับเสียงกดแป้นพิมพ์บน MacBook Pro ก็สามารถถอดออกมาได้แม่นยำมาก แม้ไม่ต้องใช้โมเดล LLM ที่กำลังฮิตในปัจจุบันเลย นอกจากนี้ยังมีการทดสอบความแม่นยำในการฟังเสียงแป้นพิมพ์ฝ่ายตรงข้ามผ่านการประชุมออนไลน์ผ่าน

AI สามารถขโมยรหัสด้วยการวิเคราะห์จากเสียงกดแป้นคีย์บอร์ด แม่นยำเกือบ 100%Read More »

Zimbra แพ็ตช์ช่องโหว่ Zero-day ที่พบว่าการโจมตีในวงกว้าง

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา Zimbra ได้ปล่อยแพ็ตช์เพื่ออุดช่องโหว่ Cross-Site Scripting (XSS) ในผลิตภัณฑ์ Collaboration Suite ที่กำลังถูกโจมตีอยู่ตอนนี้ เป็นช่องโหว่ภายใต้รหัส CVE-2023-37580 ถูกเปิดเผยตั้งแต่ต้นเดือน ตอนนั้น Zimbra ออกมาแนะนำให้แพ็ตช์โซลูชั่นอีเมลและคอลลาบอเรตเวอร์ชั่น 8.8.15 ด้วยตัวเองก่อน โดยยังไม่มีรหัส CVE ออกมา แต่ทางคุณ

Zimbra แพ็ตช์ช่องโหว่ Zero-day ที่พบว่าการโจมตีในวงกว้างRead More »

Citrix เผยช่องโหว่ร้ายแรงบนเกตเวย์ NetScaler และ ADC

Citrix ออกประกาศเตือนผู้ใช้ NetScaler Gateway และ ADC ว่ามีช่องโหว่ใหม่อยู่ 3 รายการ ในนี้เชื่อว่ามีอย่างน้อยหนึ่งรายการที่พบการโจมตีจริงแล้วในวงกว้างอย่าง CVE-2023-3519 ที่เป็นช่องโหว่แบบ Remote Code Execution โดยนักวิเคราะห์จาก Rapid7 พบว่าช่องโหว่ดังกล่าวระบาดไปทั่วแล้ว ขอให้ทุกคนรีบแพ็ตช์อุปกรณ์เกตเวย์ทันที ยิ่งเป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่ได้รับความนิยมในการเป็นเหยื่อโจมตีของแฮ็กเกอร์ทุกระดับไม่แบ่งชั้นวรรณะแบบนี้ด้วย ทางบริษัทด้านความปลอดภัย Tenable

Citrix เผยช่องโหว่ร้ายแรงบนเกตเวย์ NetScaler และ ADCRead More »

แอปเปิ้ลอุดช่องโหว่ Zero-day ที่ถูกใช้โจมตีไอโฟนและแมคอยู่ตอนนี้

Apple ปล่อยตัวอัปเดตด้านความปลอดภัยเพื่อแก้ปัญหาช่องโหว่ Zero-day ที่ถูกใช้โจมตี iPhone, Mac, และ iPad แล้ว เป็นช่องโหว่ WebKit ภายใต้รหัส CVE-2023-37450 ที่ระบุในประกาศอัปเดต Rapid Security Response (RSR) เมื่อต้นเดือนว่า บริษัทได้รับรายงานว่าอาจมีการโจมตีในวงกว้างก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ยังออกแพ็ตช์ช่องโหว่บน Kernel

แอปเปิ้ลอุดช่องโหว่ Zero-day ที่ถูกใช้โจมตีไอโฟนและแมคอยู่ตอนนี้Read More »

พบการโจมตีใหม่ “Zenbleed” รีดข้อมูลรั่วจากชิป AMD Zen2 โดยเฉพาะ

นักวิจัยด้านความปลอดภัยจากกูเกิ้ล Tavis Ormandy ค้นพบช่องโหว่ใหม่บนซีพียู AMD Zen2 ที่อาจจะทำให้ผู้โจมตีเข้ามาขโมยข้อมูลความลับอย่างรหัสผ่านและคีย์เข้ารหัสได้ (ด้วยอัตราเร็ว 30KB ต่อวินาทีจากแต่ละคอร์บนซีพียู) เป็นช่องโหว่ภายใต้รหัส CVE-2023-20593 ช่องโหว่นี้เกิดจากการจัดการคำสั่งที่ชื่อ “Azeroupper” ไม่เหมาะสมเพียงพอระหว่างการรัน ซึ่งคำสั่งนี้เป็นเทคนิคเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่ใช้กันแพร่หลายในชิปยุคปัจจุบัน ทางคุณ Ormandy ใช้การ Fuzzing และตัวตรวจวัดประสิทธิภาพเพื่อระบุเหตุการณ์จำเพาะบนฮาร์ดแวร์ จากนั้นตรวจสอบผลที่ได้ด้วยวิธีที่เรียกว่า

พบการโจมตีใหม่ “Zenbleed” รีดข้อมูลรั่วจากชิป AMD Zen2 โดยเฉพาะRead More »

ไมโครซอฟท์ยังไม่รู้ว่าแฮ็กเกอร์ทำอีท่าไหน ถึงขโมยคีย์บัญชี Azure AD ชาวบ้านได้

ไมโครซอฟท์ออกมาชี้แจงว่า ยังไม่ทราบว่าแฮ็กเกอร์จีนขโมยคีย์ที่ไมโครซอฟท์ใช้กู้บัญชีลูกค้า (Microsoft Account (MSA) Consumer Signing Key) แล้วเอาไปใช้แฮ็กบัญชี Exchange Online และ Azure AD ขององค์กร ยี่สิบกว่าแห่ง ที่รวมถึงบัญชีของรัฐบาลบางประเทศได้อย่างไร สำหรับกรณีการโจมตีครั้งนี้รายงานขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ทางการสหรัฐฯ หลังพบการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาตไปยังบัญชีอีเมล Exchange Online ของหน่วยงานภาครัฐหลายแห่ง

ไมโครซอฟท์ยังไม่รู้ว่าแฮ็กเกอร์ทำอีท่าไหน ถึงขโมยคีย์บัญชี Azure AD ชาวบ้านได้Read More »